นโยบาย-ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
- การพัฒนา ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม ระบบคมนาคมขนส่ง ให้ได้มาตรฐานสะดวกและปลอดภัย
- การก่อสร้างรางระบายน้ำ การวางท่อระบายน้ำ
- การพัฒนา ปรับปรุงซ่อมแซมระบบไฟฟ้าสาธารณะ ขยายเขตไฟฟ้าแรงต่ำ
- การก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม อาคาร ศาลาเอนกประสงค์
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและการเกษตร
- การพัฒนาฟื้นฟูแหล่งน้ำ ระบบประปาหมู่บ้านและการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
- การพัฒนาแหล่งน้ำ ขุดลอก คู คลอง ลำเหมือง ฝายแม้ว เพื่อรองรับและสนับสนุนภาคเกษตรกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
- การส่งเสริมและสนับสนุน งานด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ สถาบันครอบครัว การพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
- การป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคม ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรมและการค้ามนุษย์ อย่างเป็นระบบ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านเศรษฐกิจชุมชน
- การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- การส่งเสริมและพัฒนากลุ่มอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนและสินค้าการเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิต การออกแบบ การบรรจุภัณฑ์และการตลาด
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสาธารณสุข
- การส่งเสริม และสนับสนุนการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อและไม่ติดต่อ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจให้ประชาชนมีสุขภาวะที่สมบูรณ์
- การส่งเสริมพัฒนา และสนับสนุนการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก การแพทย์พื้นบ้านและสมุนไพร
- การส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬานันทนาการเพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- การส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา ทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย
- การส่งเสริมทำนุบำรุงศาสนา จารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวันสำคัญของชาติ
- 3.การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม อันดีงามแก่เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไป
ยุทธศาสตร์ที่ 7 ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- การพัฒนาและส่งเสริมสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในท้องถิ่น
- การพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 8 ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
- การส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย มลพิษทางอากาศ ตลอดจนการรักษาความสะอาดเรียบร้อยของชุมชน
- การพัฒนาพื้นที่สาธารณะประโยชน์
ยุทธศาสตร์ที่ 9 ด้านการบริหารบ้านเมืองที่ดี
- การส่งเสริมธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
- การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพพร้อมที่จะบริการประชาชนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
- การส่งเสริมพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ เครื่องมือ เครื่องใช้ เทคโนโลยี
วิสัยทัศน์จังหวัดเชียงราย (Vision)
“เมืองแห่งการค้า การลงทุน การเกษตร และการท่องเที่ยว รุ่งเรืองด้วยวัฒนธรรมล้านนา ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข”
เป้าประสงค์ ( Goal )
- เพื่อสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการค้า การลงทุน บริการ โลจิสติกส์ การเกษตร การท่องเที่ยว และวัฒนธรรม เชื่อมโยงกลุ่มจังหวัด กลุ่มอาเซียน+ 6 และ GMS
- เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น โดยการน้อมนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางหลักในการสร้างภูมิคุ้มกันในการสร้างคน สังคมที่มีคุณภาพ
- เพื่อสร้างสมดุลของระบบนิเวศและการพัฒนาเมืองให้นำอยู่ เพื่อให้ประชาชนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีคุณภาพ
- เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ปกติและแนวชายแดน
ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงราย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้านการค้าการลงทุน และบริการโลจิสติกส์ เชื่อมโยงกลุ่มจังหวัด กลุ่มอาเซียน+6 และ GM
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพ มาตรฐานสากล และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การดำรงฐานวัฒนธรรมล้านนา เพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เชิงนิเวศ และเชิงสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิตเพื่อให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดำรงความสมบูรณ์และยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การรักษาความมั่นคงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4.5 กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดเชียงราย
วิสัยทัศน์
“ร่วมประสาน มุ่งบริการ ยืดหลักธรรมาภิบาล ทำงานแบบมีส่วนร่วม ประชาชนเป็นสุข”
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
จากการทบทวนกรอบการประสานแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2556 ทิศทางการพัฒนาท้องถิ่นและอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด จำนวน 6 ยุทธศาสตร์ 40 แนวทาง ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบคมนาคมและขนส่งภายในองค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อรองรับการขยายตัวของการลงทุนภายในท้องถิ่น และการเชื่อมโยงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
แนวทางการพัฒนา
1.1 การพัฒนาระบบคมนาคมและขนส่ง ทางระบายน้ำ สะพาน ท่าเทียบเรือ และการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวในด้านการค้าและการลงทุนในเขตจังหวัดเชียงราย และการเชื่อมโยงประชาคมอาเซียน
1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบคมนาคมและขนส่ง เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
1.3 พัฒนางานด้านการผังเมือง การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
แนวทางการพัฒนา
2.1 ส่งเสริมแนวทางการพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ประชาชนได้พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
2.2 ส่งเสริมการสร้างงานและสร้างอาชีพให้แก่ประชาชน เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว และการจัดการตลาด เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และหัตถกรรม กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) อย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาด
2.3 การพัฒนาระบบชลประทาน หรือการพัฒนาแหล่งน้ำ และระบบบริหารจัดการน้ำ เพื่อสนับสนุนผลผลิตทางด้านการเกษตร และรองรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ การขยายพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ที่ขาดแคลน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
2.4 เพิ่มประสิทธิภาพเมล็ดพันธุ์และพันธุ์สัตว์ ตลอดจนส่งเสริมเครือข่ายการเรียนรู้เกษตรกรในพื้นที่ด้านการผลิต การแปรรูป การจำหน่ายและการตลาด เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
2.5 เสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมและจัดหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ตามศักยภาพของพื้นที่ให้เป็นโครงข่ายความร่วมมือกับจังหวัด และประเทศ
2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น พร้อมยกระดับมาตรฐานด้านบริการและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
แนวทางการพัฒนา
3.1 ส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพและตามเกณฑ์มาตรฐาน
3.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
3.3 พัฒนาองค์ความรู้บุคลากรทางการศึกษาผู้สอนภาษาต่างประเทศและความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมได้รับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
3.4 สนับสนุนการเรียนรู้คู่คุณธรรม ร่วมกับสถาบันทางศาสนา รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาที่คำนึงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมทางด้านภาษา และการแต่งกายล้านนา
3.5 ส่งเสริมการเรียนรู้อนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณี สังคมและค่านิยมล้านนาเชื่อมโยงวัฒนธรรมอาเซียน
3.6 พัฒนาสื่อการเรียนการสอน และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง
3.7 ประสานและสร้างความเชื่อมโยงในการศึกษาทุกระดับเพื่อตอบสนองตลาดแรงงานและศักยภาพกำลังแรงงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมเพื่อให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข
แนวทางการพัฒนา
4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบการบริการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อให้มีคุณภาพครอบคลุม และสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมทุกภาคีเครือข่าย
4.2 สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นและแพทย์ทางเลือกในการดูแลและรักษาสุขภาวะชุมชน
4.3 ส่งเสริมและสนับสนุน การอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมล้านนา จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.4 ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านสวัสดิการสังคม สถาบันครอบครัว การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
4.5 สนับสนุนที่พักอาศัยแก่ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน ให้มีที่อยู่อาศัยที่ดี คงทน ถาวร และมีสภาพแวดล้อมที่ดี
4.6 สนับสนุนงานด้านการส่งเสริมอาชีพและฝึกอาชีพให้กับประชาชน กลุ่มแรงงานนอกระบบ กลุ่มผู้ไม่มีงานทำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างงานและอาชีพ รวมทั้งการส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการมีงานทำและมีรายได้เพื่อการยังชีพ
4.7 ส่งเสริมและพัฒนาการจัดระเบียบชุมชน งานด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย งานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนการให้ความสำคัญกับระบบเตือนภัยที่เกิดจากภัยธรรมชาติและภัยพิบัติในท้องถิ่น
4.8 ส่งเสริมและสนับสนุนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบ ปัญหาอาชญากรรม และการค้ามนุษย์ ภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ
4.9 ส่งเสริมสนับสนุนการกีฬาและนันทนาการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจควบคู่กับการให้การศึกษา
4.10 ส่งเสริมการสร้างสวนสาธารณะ อุทยานการเรียนรู้สุขภาพชุมชน และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดำรงความสมบูรณ์และยั่งยืน
แนวทางการพัฒนา
5.1 ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสียในชุมชน มลพิษทางอากาศ ตลอดจนการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชนและท้องถิ่น
5.2 เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน และสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน ในการดำเนินการอนุรักษ์ การคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ำ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ให้เกิดประโยชน์และเกิดผลสำเร็จอย่างยั่งยืนและตามแนวทางพระราชดำริ
5.3 ส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างประหยัด การใช้พลังงานทดแทนและการลดมลพิษ และลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
5.4 พัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.5 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำฝายต้นน้ำ (Check Dam) เพื่อชะลอการไหลของน้ำและตะกอนเสริมความสมบูรณ์ของป่า
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร
แนวทางการพัฒนา
6.1 ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพของประชาชน ความปรองดองสมานฉันท์บนพื้นฐานของความถูกต้องยุติธรรม และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
6.2 ส่งเสริมและสร้างระบบการจัดการบ้านเมืองที่ดี ในการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรขององค์การรบริหารส่วนจังหวัดและของ อปท.ในเขตจังหวัดในด้านการบริหารการคลัง วิธีการงบประมาณ การบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ทันสมัยและประชาชนมีส่วนร่วม
6.3 พัฒนาปรับปรุงเครื่องมือ เครื่องใช้และเทคโนโลยีขององค์กร
6.4 ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรักษาความปลอดภัย แก้ไขปัญหาจราจรการลดอุบัติเหตุ และการบริหารจัดการ
6.5 ส่งเสริมสนับสนุนให้มีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตภายในจังหวัด
6.6 พัฒนาระบบการจัดหารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6.7 พัฒนาและบริหารจัดการภารกิจถ่ายโอนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
6.8 เสริมสร้างระบบด้านการประสานเครือข่ายในการพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มแข็ง เพื่อให้เกิดความร่วมมือและการบูรณาการร่วมกัน
6.9 ส่งเสริมความร่วมมือการบริหารการเมืองการปกครองระหว่างหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานอื่น
ยุทธศาสตร์กลุ่มภาคเหนือตอนบน 2 ( เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน)
กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน ควรมุ่งพัฒนาให้เป็นประตูการค้า การลงทุน พัฒนาการเกษตรอินทรีย์ พัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนและการท่องเที่ยว อนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมล้านาและภูมิปัญญาท้องถิ่น และเร่งฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
วิสัยทัศน์(Vision) :
“ประตูการค้าสู่สากล โดดเด่นวัฒนธรรมล้านนา ดิน น้ำ ป่า สมบูรณ์ ประชาชนอยู่ดีมีสุข”
พันธกิจ ( Mission) :
- ส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน การท่องเที่ยว และโลจิสติกส์เชื่อมโยงสู่สากล ให้มีการ ขยายตัวเพิ่มขึ้น
- ส่งเสริมพัฒนาการและสร้างความเข้มแข็งให้ภาคเกษตร อุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่า
- พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม อารยธรรมแห่งล้านนาตะวันออก ดำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นอัตลักษณ์และสุขภาพ
- อนุรักษ์ พัฒนา และส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความ สมบูรณ์ ดำรงฐานทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี
จุดยืนทางยุทธศาสตร์ :
“ประตูการค้าสู่สากลบนพื้นฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์”
เป้าประสงค์หลัก (Goals)
- เป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และโลจิสติกส์เชื่อมโยงกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้้าโขง(GMS)
- เพิ่มรายได้จากการส่งออกสินค้าไปยังประเทศGMS, AC และประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น
- เพิ่มผลิตภาพและคุณค่าของสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมน้าสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรม สู่ตลาดโลก
- พัฒนาการท่องเที่ยวเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และคุณค่าสินค้าและบริการเน้นฐานเศรษฐกิจที่ยั่งยืนเพิ่ม มูลค่าการท่องเที่ยวเพี่อเพิ่มรายได้
- รักษาความ อุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ธรรมชาติสร้างภาคีใน การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมความหลากหลายทางชีวภาพยกระดับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความ ยั่งยืนและเตรียมพร้อมรับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และกรอบความร่วมมือประชาคมอาเซียน
ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด ( Strategic Issues)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : เสริมสร้างสภาพแวดล้อมในการพัฒนาการค้า การลงทุน และโลจิสติกส์เชื่อม อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและเตรียมพร้อมรับความร่วมมือประชาคมอาเซียน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตรและ อุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : พัฒนาและสนับสนุนการยกระดับการพัฒนาสังคม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วัฒนธรรมและสุขภาพ เพื่อเป็นฐานการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ดำารงฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสู่การเป็นกลุ่มจังหวัดสีเขียว